สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

พีแอลซี (PLC) ในงานควบคุมอัตโนมัติ (Automation)

พีแอลซี (PLC) ในงานควบคุมอัตโนมัติ (Automation)

      เมื่อพูดถึงระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automation) ทางด้านอุตสาหกรรม ที่เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการพัฒนา วิธีการผลิตที่ช่วยลดต้นทุน สามารถควบคุมคุณภาพของการผลิตได้ดีขึ้น เพิ่มกำลังการผลิต และทำให้การผลิตมีความน่าเชื่อถือสูง  ปัจจุบันทุกบริษัทจึงมุ่งเน้นการพัฒนาระบบสายงานการผลิตไปที่ระบบการผลิตแบบ โดยใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation Machine)


รูปภาพแสดงส่วนประกอบภายใน PLC

รูปภาพแสดงอุปกรณ์ภายนอกที่สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ PLC ในลักษณะเป็น Input

 

รูปภาพแสดงอุปกรณ์ภายนอกที่สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ PLC ในลักษณะเป็น Input (ต่อ)

 

รูปภาพแสดงอุปกรณ์ภายนอกที่สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ PLC ในลักษณะเป็น Output

 

รูปภาพแสดงอุปกรณ์ภายนอกที่สามารถนำมาเชื่อมต่อกับ PLC ในลักษณะเป็น Output (ต่อ)

 

      เมื่อกล่าวถึง เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation Machine) สิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้เครื่องจักรนั้น สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกท่านคงได้รู้จักกันดีในนาม พีแอลซี (PLC : Programmable Logic Controller)  คือ หน่วยประมวลผลที่สามารถโปรแกรมได้  เพื่อช่วยจัดการควบคุม สั่งงาน รับค่าเซนเซอร์ ต่าง ๆ และกำหนดการทำงานของระบบควบคุมอัตโนมัติ  ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานควบคุมทางด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นการทนต่อสัญญาณรบกวน หรือใช้งานในสภาวะอากาศที่เลวร้าย มีฝุ่น ความชื้น ละอองน้ำ น้ำมัน ใช้ในสภาพอากาศ ร้อน หนาว  และการใช้งานที่ต้องทำงานตลอดเวลา 24 ชม.  พีแอลซี จึงเป็นที่นิยมสำหรับการนำมาควบคุมระบบเครื่องจักรกลอัตโนมัติ

 

     
      นอกเหนือจากการควบคุมการทำงานของระบบแล้ว ปัจจุบัน PLC ได้ถูกพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น ฟังก์ชันการติดต่อกับอุปกรณ์ ภายนอก ที่มีความเร็วและมีประสิทธิภาพสูง  และมีรูปแบบการเชื่อมต่อ ที่หลากหลาย อาทิเช่น  RS232 RS485  LAN  CC-Link  Device Net  Modbus RTU SCADA  รูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบ Wizard รวมถึงความสามารถของตัว พีแอลซี เองที่มีประสิทภาพสูงขึ้นเรื่องของความเร็วในการประมวลผล หน่วยความจำที่มีให้ใช้งานมากขึ้น

 

    
       นอกจาก พีแอลซี แล้ว หน่วยประมวลผลที่มีความนิยมอีกตัวหนึ่งก็คงหนีไม่พ้น คอมพิวเตอร์ (PC)  ซึ่งก็จะเป็น คอมพิวเตอร์ เกรด อุตสาหกรรม หรือ  Industrial PC  ปัจจุบันก็ มีความนิยมนำมาใช้งานในการควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ไม่น้อยไปกว่า PLC  เช่นกัน ด้วยรูปแบบที่นักพัฒนา สามารถเข้าถึงกับระบบ ฐานข้อมูล ด้วยการใช้งานในฟังก์ชัน ของ Windows เองที่รองรับ พื้นที่หน่วยความจำค่อนข้างมาก (Hard disk) และมีความเหมาะสมสำหรับงานที่มีความต้องการประมวลผงทางคนิตสาตร์ที่มีความ ซับซ้อนสูง รวมไปถึงการเขียนโปรแกรมที่อยู่ในรูปแบบ Text Base ที่มีความนิยม และมีสื่อการสอนที่มากมาย เช่น ภาษา C C#  VB  .Net  ก็สามารถนำมาประยุกต์ เขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติได้ รวมไปถึง Lab View ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เขียนบน PC และได้ออกแบบให้การเขียนโปรแกรมเป็นลักษณะของ Data Flow ซึ่งมีฟังก์ชันที่รองรับการเข้าถึง Hardware มากขึ้น ก็สามารถใช้เขียนโปรแกรมเพื่อให้ คอมพิวเตอร์ สามารถควบคุมเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติ ได้เช่นกัน

 

     
      อย่างไรก็ตาม พีแอลซี (PLC) ก็ยังได้รับความนิยมและมีความน่าเชื่อถือสูง และยังมีความเหมาะสมกับการควบคุมในระบบควบคุมอัตโนมัติ มากที่สุดในปัจจุบัน  ใช้งานง่าย แก้ไขเพิ่มเติมง่าย และเป็นรูปแบบสากล จึงเลี่ยงไม่ได้ ที่ วิศกร ที่ทำงานทางด้านระบบควบคุมอัตโนมัติ จำเป็นต้องศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับ พีแอลซี  อย่างน้อย พื้นฐานการใช้งาน พีแอลซี ไปจนถึงการประยุกต์ การใช้งาน พีแอลซี  เพื่อเข้าใจและสามารถทำงานควบคุมดูแล รวมไปถึงการออกแบบ เกี่ยวกับระบบควบคุมอัตโนมัติได้


ตัวอย่างการประยุกต์นำ PLC ไปใช้งานในระบบควบคุมอัตโนมัติ Automatic Control (1)

ระับบเเปิดปิดประตูอัตโนมัติ


ตัวอย่างการประยุกต์นำ PLC ไปใช้งานในระบบควบคุมอัตโนมัติ Automatic Control (2)

ระบบการตรวจเช็คการตรวจสอบระดับของเหลวในภาชนะ

 

ตัวอย่างการประยุกต์นำ PLC ไปใช้งานในระบบควบคุมอัตโนมัติ Automatic Control (3)

ระบบการนับบรรจุสารเคมีลงขวดพร้อมนับจำนวนผลิตภัณ์


view