สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ครั้งแรกในโลก การแข่งขัน "จักรยานหุ่นยนต์" ไร้คนขับ – สั่งการได้ด้วยตัวเอง

ครั้งแรกในโลก การแข่งขัน "จักรยานหุ่นยนต์" ไร้คนขับ – สั่งการได้ด้วยตัวเอง

ครั้งแรกในโลกและประเทศไทยกับเวที "การแข่งขันจักรยานหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย" ปี 2553 ไร้คนขับ - ไร้คนสั่งการ สามารถวิ่งได้ด้วยตัวเอง
       

       
       วันนี้ (9ก.พ.2553) บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยและภาค วิชาเมคคาทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เปิดการแข่งขันออกแบบและพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการรักษาสุม ดุล แบบ 2 ล้อหน้า - หลัง ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ล้มด้านข้าง และใช้การควบคุมทางพลศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมการแข่งขันพัฒนาความรู้ด้านวิศวกรรมการควบคุมหุ่นยนต์และระบบ อัตโนมัติมากขึ้น
       
       ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดการแข่งขันจักรยานหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นครั้งแรกในโลก โดยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความชำนาญในสาขาเทคโนโลยีหุ่นยนต์แบบอัตโนมัติ และวิศวกรรมควบคุม ตลอดจนช่วยกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว และสนับสนุนการนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
       
       "โดยธรรมชาติของเยาวชน มักสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่นเดียวกันกับความสามารถในการทำงานเป็นทีม การแข่งขันครั้งนี้เราจึงพร้อมสนับสนุนโครงการยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ตามแบบแผน แม่บทหุ่นยนต์แห่งชาติ โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไทย และระบบอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ และสร้างศักยภาพของตัวแทนเยาวชนไทยในการแข่งขันระดับนานาอารยประเทศ"
       
       ด้าน นายเจฟฟรีย์ ดี ไนการ์ด รองประธาน และผู้จัดการ ประจำประเทศไทยของบริษัทซีเกท กล่าวถึงกิจกรรมนี้ว่า การแข่งขั้นครั้งนี้เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถทั้งด้าน วิชาการและการปฏิบัติ รวมทั้งความพยายามเพื่อสร้างผลงานต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับชุมชน ประเทศ และขยายต่อไปสู่ระดับโลก
       
       "ผมคิดว่าการแข่งขันครั้งนี้ ช่วยจุดประกายนิสิต นักศึกษาไทยให้มีแรนงบันดาลใจในการเรียนรู้ และปรับใช้ความชำนาญทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อชีวิตของพวกเขาในการเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนักประดิษฐ์ในอนาคต"
       
       ขณะที่ รศ.ดร.มนูกิจ พานิชกุล ประธานการจัดแข่ง ขันฯ อาจารย์ประจำภาควิชาแมคคาทรอนิกส์ (AIT) กล่าวถึง กฎกติกาในการแข่งขันว่า "จักรยานหุ่นยนต์จะ ต้องสามารถวิ่งได้ด้วยตัวเองจากจุดเริ่มต้น ผ่านเส้นทางที่กำหนดไปถึงจุดหมายโดยไร้คนบังคับ ซึ่งการแข่งขันแบ่งออกเป็นรอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันต้องพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ให้สามรรถวิ่งบนเส้นทางที่กำหนดให้ เร็ว และไกลที่สุด"
       

       "เส้นทางถูกกำหนดไว้ โดยจักรยานหุ่นยนต์ต้องวิ่งไปเรื่อยๆจนหมดเวลา หรือจนได้ผู้ชนะจากการวัดระยะทาง หรือถูกแซง ซึ่งในรอบชิงชนะเลิศ เรากำหนดให้สนามทำการปล่อยจักรยานหุ่นยนต์ครั้งละ 2 คันพร้อมกัน โดยปล่อยในระยะที่ต่างกันครึ่งหนึ่งของระยะทางในการแข่งขัน ทีมที่ถูกตามหลังด้วยระยะห่างสั้นกว่า 50 เมตร จะถือว่าโดนแซง และแพ้ในการแข่งขันทันที ส่วนกรณีที่ไม่มีการแพ้ชนะแบบที่มีการแซง การจตัดสินผู้ชนะ จะพิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะไกลที่สุด
       
       รอบแข่งชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ โดยเป็นการแข่งความเร็วกันครั้งละ 2 ทีม ทีมแพ้ตกรอบ จนเหลือทีมสุดท้ายที่เป็นทีมชนะเลิศ"รศ.ดร.มนูกิจ กล่าว 
       
       ชูพงศ์ ช่วยเพ็ญ นักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หนึ่งในสมาชิกทีมผู้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ เอ่ยถึงจุดเริ่มของการเข้าร่วมว่า
       "ถือว่าเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่เรากำลังทำอยู่ บวกกับวัตถุประสงค์ของงานที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยและเป็นครั้งแรกในโลก แม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์การแข่งขันที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ แต่เราเชื่อว่า องค์ความรู้ที่เราได้ศึกษามา ทั้งม ระบบควบคุระบบซอฟแวร์ และระบบฮาร์ดแวร์ในการขับเคลื่อนหุ่นยนต์จะสามารถทำให้รถจักรยานพัฒนาต่อไป ได้ในอนาคต
       แม้ว่าสุดท้ายแล้วเราจะได้รางวัลหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่จะทำให้ก้าวขึ้นไปอีกระบบหนึ่ง สามารถที่จะตอบยอดผลงานด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์ในอนาคตได้ นำมาใช้ประโยชน์ เพราะผมเชื่อว่า การพัฒนาหุ่นยนต์ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม จะสามารถทดแทนพลังงานในอนาคตได้"


การตัดสินจะแบ่ง เป็น 3 รอบ คือ รอบคัดเลือกจากรายงานการออกแบบ รอบแข่งคัดเลือก และ รอบแข่งชิงชนะเลิศ

 ในรอบคัดเลือกจากรายงานการออกแบบ จะพิจารณาจากรายละเอียดในรายงานการออกแบบจักรยานหุ่นยนต์ ซึ่งรายงานจะต้องมีรายละเอียดของจักรยานหุ่นยนต์ ขนาด แผนภูมิของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เทคนิคที่ใช้ในการควบคุม รายละเอียดของเซนเซอร์ที่ใช้ เทคนิคการหยุดจักรยานหุ่นยนต์กรณีฉุกเฉิน และกลยุทธการแข่งขัน 

 ในรอบแข่งคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ 16 ทีมที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดจะได้เข้ารอบแข่งชิงชนะเลิศ 

 ในรอบแข่งชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ โดยเป็นการแข่งความเร็วกันครั้งละ 2 ทีม ทีมแพ้ตกรอบ จนเหลือทีมสุดท้ายที่เป็นทีมชนะเลิศ   ทีมแพ้ตกรอบ จนเหลือทีมสุดท้ายที่เป็นทีมชนะเลิศ

คุณสมบัติของทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน
สมาชิกในทีมต้องเป็นนักศึกษาระดับ อาชีวะศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือ สูงกว่า ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีสมาชิกในทีม 3 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน

รางวัลชนะ เลิศ                              150,000 บาท
รางวัลรองชนะ เลิศ                         100,000 บาท
รางวัลเทคนิคยอด เยี่ยม                    50,000 บาท
รางวัลความคิด สร้างสรรค์                 50,000 บาท
16 ทีมที่ทำคะแนนสูงสุดที่ผ่านเข้ารอบแข่งชิงชนะเลิศ ทีมละ 20,000 บาท

การสมัครเข้าร่วม แข่งขัน ผู้ สนใจสามารถลงทะเบียน ดูกติกา และ รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://bicyrobo.ait.ac.th หรือ http://www.trs.or.th

กำหนดการ

19 มีนาคม 2553 วันสุดท้ายของการลงทะเบียนเข้าร่วมการ แข่งขันและ ส่งรายงานการออกแบบ
1 เมษายน 2553 อบรมผู้เข้าร่วมแข่งขัน ชี้แจงกฏกติกา
3 มิถุนายน 2553 แข่งรอบคัดเลือก
5 สิงหาคม 2553  แข่งรอบชิงชนะเลิศ


  

  

   

 
หนึ่งในทีมผู้เข้าแข่งขันนักศึกษา AIT

อ้างอิงข้อมูลจาก: 
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000018851

view