ประกาศ ศักดาเด็กไทยคว้าแชมป์โลก 5 สมัยซ้อน ใน World Robocup 2010
" ว่ากันว่าการเป็นแชมป์เป็นเรื่องยาก แต่การป้องกันแชมป์เป็นเรื่องยากกว่า" เพราะมีแต่
คนรอล้มแชมป์อยู่เสมอ แต่วลีที่ว่านี้ทีมแข่งขันหุ่นยนต์ของเด็กไทยสามารถฝ่าไปได้อย่างสวยหรู
ด้วยการสร้างชื่อเสียงสนั่นลั่นโลกในสนามแข่งขันหุ่นยนต์โลกหรือ"เวิลด์ โรโบคัพ"ประจำปี 2010
เมื่อทีม iRAP_PRO พระนครเหนือรักษาแชมป์โลกประเภทหุ่นยนต์กู้ภัยเอาไว้ได้ เป็นปีที่ 2 ส่งผลให้ไทย
ครองแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยสมัยที่ 5 ต่อเนื่อง ขณะที่ทีม BART LAB Rescue จาก ม.มหิดล และ
ทีม Success จาก ม.เทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา ครองอันดับ 2 ร่วมกัน ด้านทีม SCUBA
จาก ม.เกษตรฯ ทำผลงานไม่น้อยหน้า ประกาศศักดาบนสนามแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ยิงถล่มทีม
มหาอำนาจเทคโนโลยีเมืองลุงแซม ไปถึง 6 ประตูต่อ1 คว้าแชมป์โลกเป็นสมัยที่ 2 อย่างงดงาม
สำหรับการแข่งขัน World Robocup นี้จัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งทีมเด็กไทยสามารถคว้ารางวัล
ชนะเลิศมาได้เป็นแชมป์โลกทั้งหมด 5 สมัย ดังนี้
สมัยที่ 1 ทีมอินดิเพนเดนท์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขต
ปราจีนบุรี คว้าแชมป์จากการแข่งขันที่เมืองเบรเมน เยอรมนี พ.ศ.2549
สมัยที่ 2 ทีมเดียวกันคว้าแชมป์จากการแข่งขันที่เมืองแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา พ.ศ.2550
สมัยที่ 3 ทีมพลาสมา อาร์เอ็กซ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้าแชมป์จากการแข่งขันที่เมือง
ซูโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ.2551
สมัยที่ 4 ทีมไอราป_โปร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คว้าแชมป์จากการ
แข่งขันที่ เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย
ครั้งล่าสุด สมัยที่ 5 ทีมไอราป_โปร ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมอีกครั้ง คว้ารางวัลชนะเลิศ จากการ
แข่งขันที่ประเทศสิงคโปร์
World Robocup เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์โลก จัดเพื่อจะพัฒนาหุ่นยนต์ แสดงความสามารถใน
เชิงวิชาการ และเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กัน เป้าหมายของ RoboCup คือการส่งเสริมงานวิจัยและ
การ เรียนการสอนทางด้านหุ่นยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ่นยนต์ที่ทำงานได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีบุคคล
ควบ คุม (Autonomous Robot) โดย Robocup จะใช้ศาสตร์ทางด้าน mechanical,electronic ,computer
หุ่นยนต์จะมีความซับซ้อนมากทั้งคิดและแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่เพียงแต่ต้องใช้
ความรู้ความสามารถที่ได้ร่ำ เรียนมาเท่านั้น ยังต้องศึกษาและทดลองเทคนิคใหม่ๆมาใช้ในการแข่งขัน
รวมทั้งการทำงานเป็นทีมด้วย
ในปี 2010 นี้การแข่งขันจัดที่ศูนย์ประชุม ซันเทค สิงคโปร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเวนชั่น แอนด์
เอ็กซ์ฮิบิชั่น ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 14
แบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. หุ่นยนต์เตะฟุตบอล (RoboCup Soccer)
1.1 Standard Platform League (formerly Four Legged League)
1.2 Small Size League
1.3 Middle Size League
1.4 Simulation League
+ 2D Soccer Simulation
+ 3D Soccer Simulation
+ 3D Development
+ Mixed Reality Soccer Simulation (formerly Visualisation)
1.5 Humanoid League
2. หุ่นยนต์กู้ภัย (RoboCup Rescue)
2.1 Rescue Simulation League
2.2 Rescue Robot League
3. หุ่นยนต์ระดับเยาวชน อายุไม่เกิน 18 ปี (RoboCup Junior)
3.1 Soccer Challenge
3.2 Dance Challenge
3.3 Rescue Challenge
3.4 General
4. หุ่นยนต์ทำงานบ้าน (RoboCup@Home)
ในการแข่งขันครั้งนี้ มีผู้สมัครเข้าแข่งขันรวมทุกประเภทกว่า 3,000 คน จากกว่า 40 ประเทศ
ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 4 ประเภท 7 ลีค ได้แก่
1. RoboCup Soccer - Small Size League ทีม SCUBA จาก ม.เกษตรฯ คว้าแชมป์โลก
หุ่นยนต์เตะฟุตบอลขนาดเล็ก ได้เป็นสมัย 2 ติดต่อกัน พร้อมกับคว้ารางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมมาครอง
ด้วยการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ อย่างสุดมันส์ ตำแหน่งรองชนะเลิศเป็นของทีมซีเอ็มดรากอน
จากสหรัฐ และที่ 3 ทีม MRL จากอิหร่าน
2. RoboCup Soccer - Humanoid League ทีม Chibi Dragon จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Team KMUTT จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และทีม BSRU-I จาก
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. RoboCup Rescue - Rescue Robot League ทีม iRAP_PRO จากมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ (แชมป์ประเทศไทย ปี 2551 และแชมป์โลก ปี 2552)
ตะลุยฝ่าอุปสรรคสุดหินในสนาม เก็บคะแนนได้สูงสุดสามารถรักษาแชมป์โลกประเภทหุ่นยนต์
กู้ภัยเอาไว้ได้ เป็นปีที่ 2 ส่งผลให้ไทยครองแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยสมัยที่ 5 ต่อเนื่อง ขณะที่
ทีม BART LAB Rescue จาก ม.มหิดล และทีม Success, RMUTRจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา ครองอันดับ 2 ร่วมกัน ขณะที่รางวัลพิเศษหุ่นยนต์อัตโนมัติ
ยอดเยี่ยม และหุ่นยนต์บังคับมือยอดเยี่ยม ตกเป็นของทีม CASualty จากออสเตรเลีย
ส่วน รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมเป็นของทีมพิลิแกน ยูไนเต็ด จากประเทศญี่ปุ่น
4. RoboCup Junior - Soccer Challenge ทีม Racha Robot จากโรงเรียนราชประชาสมาลัย ฝ่ายมัธยมรัชดาภิเษกในพระบรมราชูปถัมภ์
5. RoboCup Junior - Dance Challenge ทีม Suankularb_Non-Thai Classical Dance
Robot จากโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย นนทบุรี
6. RoboCup Junior - Rescue Challenge ทีม จักรดาว 1 จากโรงเรียนเตรียมทหาร
7. RoboCup@Home ทีม Plasma-MK จากจุฬาฯ ได้อันดับที่ 6
การแข่งขัน หุ่นยนต์ครั้งนี้ ทีมเด็กไทยทำผลงานโดดเด่นเป็นที่สนใจของผู้ชมและผู้เข้าแข่งขัน
รอบสนาม เป็นอย่างมาก เนื่องจากความเป็นอัจฉริยะของหุ่นยนต์บวกกับสมาชิกในทีมที่ยังเป็นเพียง
นัก ศึกษา และต้องต่อสู้กันอย่างเข้มข้นมากกับคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ ที่มีความสามารถและความพร้อมสูง
ทั้งยังเป็นประเทศผู้นำเทคโนโลยี เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนีสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิหร่าน จนต่างชาติ
ยกนิ้ว ชื่นชมความสามารถและศักยภาพของเยาวชนไทย
จากผลงานและความสำเร็จในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เยาวชนไทยได้แสดงความ สามารถด้าน
นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับต่างชาติเท่านั้น อีกทั้งยัง
ทำให้ เยาวชนไทยต้องพัฒนาฝีมือและประสิทธิภาพหุ่นยนต์ให้มากยิ่งขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ
ความร่วมมือของทุกคน และการทำงานเป็นทีม ซึ่งก็เป็นหัวใจสำคัญในการก้าวไปสู่ความสำเร็จเช่นกัน
ซึ่งน่าจะเป็นคำ ตอบที่ดีในการยกระดับวงการหุ่นยนต์ไทยให้มีพัฒนาการที่ดี มีประสิทธิภาพและมีความ
ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง สามารถนำมาประยุกต์ต่อยอดช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจากเหตุการณ์ต่างๆ
ผลัก ดันให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งานจริงในอนาคตได้.
เรียบเรียงโดย... By "PR.Jz" MceEngineer.com
ขอขอบคุณภาพ และข้อมูลจาก
www.kucity.com และ อาจารย์ ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา