สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

TPA Robot Contest

TPA Robot Contest

 

การแข่ง ขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย
 TPA ROBOT CONTEST THAILAND CHAMPIONSHIP
โดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)



หลักการและเหตุผล

          การแข่งขันหุ่นยนต์เป็นกิจกรรมหลักอย่างหนึ่ง  ที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีความตื่นตัวและหันมาให้
ความ
สนใจเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้นิสิตนักศึกษาได้เป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น
และแก้ปัญหาเป็น
รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้ นำความรู้ความสามารถและทักษะ
ที่ได้จากการแข่งขันมา
สร้างสรรค์ผลงานที่มี ประโยชน์ต่อสังคมต่อไป ด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริม
เทคโนโลยีสู่สังคมไทย ส.ส.ท.
จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ ขึ้นมาในประเทศไทย
เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1993 และจัดอย่าง
ต่อเนื่องมาจน กระทั่งปัจจุบัน
          การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ในระดับอุดมศึกษา จัดขึ้นครั้งแรกใน
ประเทศไทย
ปี ค.ศ.1993 โดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) ได้รับเกียรติจาก
NHK JAPAN BROADCASTING CORPORATION ให้เป็นผู้จัดการแข่งขัน โดยใช้กติกาและรูปแบบ
เหมือนในประเทศญี่ปุ่น โดยทีมที่
ชนะเลิศจะได้เป็น ตัวแทนประเทศไทยเดินทางไปร่วมแข่งขัน
หุ่นยนต์ในงาน ROBOCON ณ ประเทศญี่ปุ่น
ร่วม กับเยาวชนนานาชาติ โดยก่อนจัดการแข่งขัน
จะเชิญคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประชุม กำหนด
กติการูปแบบการแข่งขัน ซึ่งจะแตกต่างกันไป
ในแต่ละปี เพื่อทำให้การแข่งขันเกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น
และเร้าใจแก่ผู้แข่งขันและผู้เข้าชม
นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมการ

แข่งขันอีกด้วย
          การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ได้สร้างความสำเร็จของเยาวชนไทย โดย
ทีมตัวแทนประเทศไทยสามารถคว้ารางวัล ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ NHK ROBOCON ที่ประเทศ
ญี่ปุ่น
2 ปีซ้อน โดยในปี ค.ศ. 1999 ส.ส.ท. ได้นำทีมนักศึกษาไทย “BU Maxspeed” จาก
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ Robosoccer หรือหุ่นยนต์เตะฟุตบอล
และในปี ค.ศ. 2000
ถือเป็นปีทองของนักศึกษาไทย เมื่อทีม Tomahowk จากสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศและรางวัลต่าง ๆ มากมายจากการแข่งขัน
หุ่นยนต์ Roboshooter หรือ Snow fighter กลับมายังประเทศไทย ซึ่งการแข่งขันในครั้งนั้นได้
สร้างความประทับใจให้กับเจ้าภาพญี่ปุ่น
ทั้งผู้ชมในสนามและผู้ชมทางโทรทัศน์เป็นอย่างมาก
          เมื่อปี 2001 ทาง NHK JAPAN BROADCASTING CORPORATION ที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการ
แข่ง ขันทุกปีที่ผ่านมาและเป็นสมาชิกของสหภาพวิทยุกระเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่ง ภาคพื้นเอเซีย
และ
แปซิฟิก หรือ  Asia – Pacific Broadcasting Union (ABU)  มีแนวคิดที่จะขยายโครงการนี้ให้
แพร่หลาย
ในระดับนานาชาติเพื่อนำไปสู่ การพัฒนาเยาวชนของประเทศในภูมิภาค เอเชียแฟซิฟิก
ให้มีโอกาส
ได้พัฒนา ทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้ ABU Robot Contest
จึงเกิดขึ้น
โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่ง ขันขึ้นทุกปี
          ด้วยประสบการณ์และความสำเร็จจากการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย
ส่งผลให้การแข่งขันหุ่นยนต์ของ ส.ส.ท. ได้รับความสนใจจากนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้นทุกปี

 

 



วัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขัน

• เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการออกแบบวิจัยและพัฒนาด้าน Robotics ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

• เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้มี ประสบการณ์ในการร่วมมือกันทำงานเป็นทีม
• เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสสร้าง เสริมประสบการณ์จากภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ
• เพื่อผลักดันเทคโนโลยีด้าน Robotics ให้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
• เพื่อคัดเลือกทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ABU ROBOT CONTEST THAILAND และเป็นตัวแทนประเทศไทย
ไปแข่งขัน ABU ROBOT CONTEST ณ ต่างประเทศ

รางวัลการแข่งขัน

รางวัล ชนะเลิศ   
          เงินรางวัล 50,000 บาท (1 รางวัล) พร้อมโล่ เหรียญและเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 
          เงิน รางวัล 30,000 บาท (1 รางวัล) พร้อมโล่ เหรียญและเกียรติบัตร

รางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 2 
          เงินรางวัล 10,000 บาท (2 รางวัล) พร้อมโล่ เหรียญและเกียรติบัตร

รางวัล TPA Robot of The Year  
          เงินรางวัล 10,000 บาท (1 รางวัล) พร้อมโล่ เหรียญและเกียรติบัตร

รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม   
          เงินรางวัล 10,000 บาท (1 รางวัล) พร้อมโล่ เหรียญและเกียรติบัตร



ประจำปี พ.ศ.2550  : “มหัศจรรย์ ฮาลองเบ HALONG BAY DISCOVERY”

กติกา การแข่งขัน

     จะแบ่งทีมแข่งขันเป็นทีมสีแดงและทีมสีเขียวโดยมีหุ่นยนต์บังคับด้วย มือManualเปรียบเสมือน
แม่มังกร  และมีหุ่นยนต์อัตโนมัติเปรียบเสมือนลูกมังกร  ที่จะทำหน้าที่นำวัตถุไข่มุกไปวางบนเกาะ
ทีมใดที่วางวัตถุไข่มุกอยู่ ด้านบนสุดของเกาะ ก็จะได้ครอบครองเกาะนั้น ถ้าทีมใดสร้างเกาะเป็นรูป
ตัว วี (V) ที่กลางสนามเสร็จก่อน  จะเรียกว่า “VICTORY  ISLANDS” และจะถือ ว่าเป็นผู้ชนะ
ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถทำ “VICTORY  ISLANDS”ได้ ทีมที่มีคะแนนมากกว่าก็จะเป็นฝ่ายชนะ
ใช้เวลาในการแข่งขัน 3 นาที


ผล การแข่งขัน ประจำปี 2550

1.รางวัลชนะเลิศ
          ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา     ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
2.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
          ทีม The Ares                      ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
          ทีม ลูกตาลเมืองเพชร           ม.ราชภัฏเพชรบุรี
          ทีม TELEBOT # 10             ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
4.รางวัลเทคนิคยอด เยี่ยม
          ทีม IRAP RUDDSTER          ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
5.รางวัล TPA Robot of The Year
           ทีม MEC-CARLA                 ม.เอเชียอาคเนย์

   
                              



ประจำปี พ.ศ.2551 : “เหินฟ้า ท้าพิชิต Touch the Sky”

กติกาการแข่งขัน

     จะแบ่งทีมออกเป็นทีมสีแดง และ ทีมสีน้ำเงิน  ให้พยายามบังคับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ และหุ่นยนต์
อัตโนมัติ ให้เข้าใกล้ตำแหน่งของเนยเหลวที่วางอยู่ที่ความสูงระดับหนึ่ง แล้วทำการยกก้อนเนยเหลวขึ้น
จากชาม หุ่นยนต์บางส่วนต้องพยายามขโมยหม้อดินที่บรรจุเนยแข็งรูปทรงกลมที่วางอยู่บน ศีรษะเด็ก
ผู้หญิง แต่ละทีมจะได้คะแนนก็ต่อเมื่อสามารถยกเนยเหลวออกจากชามให้ได้ความสูงระดับ หนึ่ง หรือ
ทำการย้ายหม้อดิน และ /หรือ เนยแข็งไปวางไว้ในตะกร้า ทีมที่ยกเนยเหลวโดยตรงทั้ง 3 ก้อนจากชาม
ให้อยู่บนอากาศจะถูกประกาศเป็น ผู้ชนะ GOVINDA และการแข่งขันจะยุติทันที ในกรณีที่ไม่มีทีมใดชนะ
แบบ GOVINDA ทีมที่ทำคะแนนสะสมได้มากกว่าภายในระยะเวลาของการแข่งขัน 3 นาทีจะเป็นผู้ชนะ


                             

  
        


ผลการแข่งขัน ประจำปี 2551

1.รางวัล ชนะเลิศอันดับ 1
    ทีม  iRAP Ruddster

       ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ                  อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี
2.รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1
   ทีม INCHOATION

       ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี   อาจารย์ที่ปรึกษา  ผศ.ศวุต บุศยอังกุร
3.รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2
   ทีม ลูกเจ้าแม่คลองประปา 

       มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์                                     อาจารย์ที่ ปรึกษา  อ.เจษฏางค์ ถนอมสิน
   ทีม TELEBOT # 12 
       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี                  อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.เกรียงศักดิ์ เหลือประเสริฐ
4.รางวัล เทคนิคยอดเยี่ยม
   ทีม กันเกรา
       มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี                                       อาจารย์ที่ ปรึกษา  อ.ทรงสุภา พุ่มชุมพล
5.รางวัลTPA Robot of the year
   ทีม  iRAP Ranger
       ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ                  อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี

                  

ประจำปี พ.ศ.2552 : “ร่วม ตะลุย ลั่นกลองชัย Travel Together For the Victory Drums”

กติกาการ แข่งขัน

      “ร่วมตะลุย ลั่นกลองชัย” เป็นชื่อเกมส์การแข่งขันในครั้งนี้ มีพื้นฐานมากจากการเดินทางในสมัย
โบราณใช้ Kago palanquin Automatic Carrier Robot (หุ่นยนต์หามอัตโนมัติ) จะต้องอยู่ด้านหน้า
และ Manual Carrier Robot (หุ่นยนต์หามบังคับด้วยมือ) จะอยู่ด้านหลังโดยจะทำงานสัมพันธ์กัน
เพื่อจะหาม Traveller Robot (หุ่นยนต์โดยสารอัตโนมัติ)ใน Kago เพื่อให้ไปถึงที่หมายก่อนทีมฝ่ายตรงข้าม
เส้น ทางในการเคลื่อนที่อันหลากหลายประกอบไปด้วย เส้นทางภูเขา (Mountain pass) เส้นทางเดินป่า
(woods) โดย Kago และ หุ่นยนต์โดยสารอัตโนมัติ จะต้องไม่ร่วงหล่นจาก Kago    หุ่นยนต์โดยสารอัตโนมัติ
จะต้องตีกลอง เมื่อเคลื่อนทีถึงบริเวณ Goal Zone ซึ่งมีกลองแบบญี่ปุ่นวางเรียงรายอยู่ในแนวตั้ง 3 ใบ
บนขาตั้ง (Platform)   ทีมใดสามารถตีกลองทั้งสามใบได้ก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ    การแข่งขันจะแบ่งเป็น
2 ฝ่าย คือ สีแดงและสีน้ำเงิน    การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที





ผลการแข่งขัน ประจำปี 2552

1.รางวัล TPA Robot of The Year 
   ทีม Spinal_The Ultra  ID.ED.
          สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2.รางวัลเทคนิคยอด เยี่ยม  
   ทีม SATELLITE I

          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
3.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จำนวน 2 รางวัล 
   ทีมกันเกรา
          มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
   ทีมiRAP ANTIVA
           มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
4.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ1
      ทีม iRAP ปูนขาว 2009

          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
5.รางวัลชนะเลิศ 
   ทีม iRAP RIDER

           มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ




สามารถเข้าชมรายละเอียดกติกาได้ที่...

TPA Robot Contest 2007

TPA Robot Contest 2008

TPA Robot Contest 2009


Engineer007.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก...

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ป่น)

view